นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ทำธุรกิจแบบไหน ดีกว่ากัน by สำนักงานบัญชี ONESIRI
นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา การทำธุรกิจนั้นสามารเลือกได้ว่าเราจะทำแบบ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลซึ่งผมเป็นผู้สอบบัญชีมักได้ยินความเชื่อผิดๆว่า การจดทะเบียนนิติบุคคลจะทำให้ประหยัดภาษี
ซึ่งไม่จริงเลย เราต้องดูในมิติอื่นๆอีกด้วยว่า กิจการเราพร้อมและเหมาะสมที่จะจดนิติบุคคลมั้ย เลยอยากมาเล่าภาพรวมคร่าวๆว่าเราเหมาะกับแบบไหนระหว่า นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาครับ
ทำธุรกิจรูปแบบ “บุคคลธรรมดา”
รูปแบบนี้ส่วนมากจะเป็นกิจการขนาดเล็ก เจ้าของลงทุนคนเดียว หรือในลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่ได้จดทะเบียน) ซึ่งมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำธุรกิจและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน แต่มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา
กิจการรูปแบบนี้แม้ไม่ต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี แต่จะต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ จ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายได้ รายจ่าย ผลกําไรหรือขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจ และใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนี้จัดตั้งง่าย มีความคล่องตัวสูง แต่ความน่าเชื่อถือจะมีน้อยกว่าเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในแง่ความรับผิดในหนี้สิน เพราะเจ้าของธุรกิจต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด
ทำธุรกิจรูปแบบ “นิติบุคคล”
ธุรกิจในรูปแบบ “นิติบุคคล” จะมีทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ รูปแบบนี้จะต้องมีการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี พร้อมทั้งมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี แน่นอนว่า ธุรกิจในรูปแบบนี้ย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ส่งผลให้การขยายกิจการ การติดต่อกับลูกค้า หรือแม้แต่การเข้าถึงแหล่งเงินทุน สามารถทำได้ง่ายกว่าเช่นกัน เพราะมีข้อมูลทางบัญชีที่น่าเชื่อถือ ทำให้ธนาคารรู้ฐานะที่แท้จริงของกิจการ ขณะเดียวกัน สามารถนำไป วางแผนบริหารจัดการธุรกิจได้
นอกจากนี้ หากมองความเสี่ยงในแง่ความรับผิดในหนี้สิน ก็จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะธุรกิจจะถูกแยกจากตัวเจ้าของกิจการอย่างชัดเจน หนี้สินของกิจการจะเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น จำกัดเฉพาะมูลค่าหุ้นที่เป็นเจ้าของเท่านั้น
-
การเสียภาษี
บุคคลธรรมดา : สำหรับ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% โดยการคำนวณภาษีมี 2 วิธี
วิธีที่ 1 เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีแบบก้าวหน้า (เงินได้สุทธิ = รายได้ – รายจ่าย – ค่าลดหย่อน)
วิธีที่ 2 รายได้นอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจ้างแรงงานก่อนหักค่าใช้จ่าย x 0.5%
ทั้งนี้ หากคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่ 1
นิติบุคคล : ผู้ประกอบการจะเสียภาษีจากกำไรสุทธิ (รายได้-รายจ่าย) คูณ อัตราภาษี หากเป็นนิติบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 20%
สำหรับ SME มีการยกเว้น/ลดพหย่อน อัตราภาษีในลักษณะขั้นบันได สูงสุดไม่เกิน 20%
**SME คือ กิจการที่รายได้ต่ำกว่า30ล้านต่อปี / มีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
จะเห็นได้ว่า ระหว่างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะแตกต่างกันตามรูปแบบของธุรกิจ ลองย้อนกลับมาดูว่าธุรกิจของท่านอยู่ในรูปแบบใด แล้วทำให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์โดยตรงต่อตัวธุรกิจของท่านเอง
- การคำนวณค่าใช้จ่าย
บุคคลธรรมดา : สามารถเลือกหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ 1. หักแบบเหมา ซึ่งไม่ต้องมีหลักฐานพิสูจน์รายจ่าย จึงสะดวกและง่าย แต่ส่วนใหญ่จะหักได้น้อยกว่าหักค่าใช้จ่ายตามจริง และ 2. หักตามจริง ซึ่งต้องมีหลักฐานพิสูจน์รายจ่ายนั้นๆ (ต้องเก็บแบบเป๊ะๆ เพราะสรรพากรเรียกแน่ๆ)
นิติบุคคล :
- การหักค่าใช้จ่าย
นิติบุคคลนั้น ต้องเก็บเอกสารเป๊ะๆ เพราะรายได้และรายจ่ายต้องบันทึกตามจริง
ดังนั้นถ้าใครซื้อของมาไม่มีบิล อาจต้องคิดหนักเพราะการเป็นนิติบุคคล ต้องมีเอกสารตรงส่วนนี้ (แต่ถ้าใครที่นำเข้าแบบสีเทาๆลองมาคุยกับเรา อาจมีทางออก ช่วยวางแผนภาษีให้ได้ ไม่กล้าพิมพ์ในนี้55)
เมื่อทราบความต่างของการคิดภาษีกันแล้ว ลองมาพิจารณา กำไร แบบต่างๆว่าเราเหมาะจะทำธุรกิจแบบไหนดี ?
แล้วมีอะไรอื่นอีกที่ต้องพิจารณา ??
มาถึงตรงนี้เพื่อนๆคง เลือกได้แล้วว่าเราเหมาะที่จะทำธุรกิจแบบไหนดี
ดังนั้นหากใครสงสัยหรืออยากปรึกษาสามารถทักทายเราได้ที่ Line @onesiriacct
หรือหากต้องการจดทะเบียนบริษัท หรือหาสำนักงานบัญชี ที่เน้นให้คำปรึกษาจนคุณอาจรำคาญ55 เพราะเราเป็นผู้สอบบัญชีด้วย เลยอยากแชร์ความรู้
ก็ทักทายเรามาได้ครับ
ฝากแอดไลน์หรือกดไลค์เพจเฟซบุ้คด้วย เพื่ออัพเดทความรู้กันนะครับผม ^^
(3) Comments
[…] >> นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ว่าเราเหมาะกับแบบไหน […]
[…] >> นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ว่าเราเหมาะกับแบบไหน […]
[…] >> นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ว่าเราเหมาะกับแบบไหน […]