เปิดบริษัทเสียภาษีอะไรบ้าง
เปิดบริษัทเสียภาษีอะไรบ้าง
เปิดบริษัทเสียภาษีอะไรบ้าง คงเป้นปัญหาหนักอกแต่เราช่วยยกออกให้เพราะจะมาเล่าให้ฟังว่าเมื่อเปิดบริษัทแล้วมีภาระภาษีอย่างไรบ้าง ไปดูกันจ้า
1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากนิติบุคคล เช่น บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น โดยฐานภาษีจะคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษี ที่กิจการทำมาหาได้ ดังนั้นหากคุณจดทะเบียนเป็นบริษัท และมีกำไรจากการดำเนินธุรกิจ บริษัทของคุณก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษี สำหรับเจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคล ทั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัท และบริษัทจำกัดมหาชน โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ 5% – 20% โดยขึ้นอยู่กับขนาดและรายได้ของธุรกิจ
การยื่นภาษีกลางปี (ภ.ง.ด. 51)และ การยื่นภาษีปลายปี (ภ.ง.ด.50)
และอัตราภาษีของนิติบุคคล
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
คือ ภาษีทางอ้อมที่ใช้เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษีที่ทางรัฐบาลเรียกเก็บ เพื่อนำรายได้เก็บเข้าประเทศ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากขั้นตอนการผลิต สินค้า บริการ และการจำหน่ายสินค้าประเภทต่าง ๆ แต่ภาษีประเภทนี้ไม่ได้เรียกเก็บจากผู้บริโภคโดยตรง แต่จะให้ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากลูกค้าแล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้กับกรมสรรพากร
โดยกิจการที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีรายได้ 1.8 ล้านบาท/ปี จะต้องยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภ.พ. 30
**ย้ำว่ารายได้ ไม่ใช่กำไรนะจ๊ะ ถ้ารายได้เกิน 1.8ล้านต่อปี ต้องไปจดทะเบียนผู้ประกอบการVATภายใน30 วันเด้อ แต่!! ก่อนไปจดทักเรามาก่อนได้ เพราะจดแล้วจะต้องนำส่ง ภพ30 ทุกๆเดือน
อาจมีช่องทางอื่นที่ทำให้กิจการไม่ต้องจด VAT ก็ได้ จะได้ไม่ต้องรับภาระตรงนี้จ้า
เพราะหลายกิจการไม่มีภาษีซื้อ ก็จะต้องเข้าเนื้อจากการคิดภาษีขายส่งสรรพากรได้
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งสรรพากร = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ภาษีขาย = มูลค่าการขาย x 7%
ภาษีซื้อ = มูลค่าการซื้อ x 7%
เรียนรู้เพิ่มเติมจากสรรพากร : ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)
3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคือภาษีที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทได้ไปจ่ายค่าบริการต่างๆให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้หัก ณ ที่จ่ายเอาไว้ และจำนวนเงินที่หัก ณ ที่จ่ายเอาไว้นั้นจะต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปโดยใช้แบบ ภงด.3 (หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา) หรือ ภงด.53 (หัก ณ ที่จ่ายนิติบุคคล)
เงินเดือนพนักงาน – หักตามอัตราก้าวหน้า
ค่าบริการ – หัก ณ ที่จ่าย 3%
ค่าเช่า – หัก ณ ที่จ่าย 5%
ค่าขนส่ง – หัก ณ ที่จ่าย 1%
ค่าโฆษณา – หัก ณ ที่จ่าย 2%
ต่างชาติ – หัก ณ ที่จ่าย 15%
สำหรับบทความที่จะอธิบายเรื่องภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างละเอียด พร้อมตัวอย่างประกอบ ติดตามได้ในบทความถัดๆไปนะครับ เดี๋ยวผมจะทยอยลงเรื่อยๆครับ
เรียนรู้เพิ่มเติมจากสรรพากร : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
4 ภาษีธุรกิจเฉพาะ
โดยปกติแล้วตามกฎหมายธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีดังต่อไปนี้
- การธนาคาร
- การประกอบธุรกิจเงินทุน
- การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
- การประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
- การรับประกันชีวิต
- การรับจำนำ
- การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
- การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
- การซื้อและขายคืนหลักทรัพย์
- การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง
โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัททั่วๆไปจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาษีตัวนี้ แต่จะเกี่ยวข้องได้ใน 2 กรณีคือ
- บริษัทมีการให้กู้ยืมเงิน หรือ บริษัทที่ไม่ได้ลงเงินจริงตามที่ได้จดทะเบียน จะทำให้เกิดบัญชีเงินให้กู้ยืมกรรมการเกิดขึ้น บริษัทในกลุ่มนี้จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% เนื่องจากเข้าข่าย การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
อ่านเพิ่มเติมว่าทำไมบริษัทที่ไม่ได้ลงเงินจริงตามที่ได้จดทะเบียน จึงทำให้เกิดบัญชีเงินให้กู้ยืมกรรมการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ : ทุนจดทะเบียนบริษัทคืออะไร
2. หากบริษัทมีการขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ก็ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมที่ดิน เนื่องจากเข้าข่ายการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยอัตราภาษีที่ต้องเสียคือ 3.3%
เรียนรู้เพิ่มเติมจากสรรพากร : ภาษีธุรกิจเฉพาะ
นี่ก็คือคร่าวๆของภาษีที่นิติบุคคลต้องรับผิดชอบนะครับ อาจจะมีอื่นๆปลีกย่อยเช่น ภาษีป้าย ภาษีศุลกากร(กรณีนำเข้าส่งออก)
ถ้าหากท่านใดสงสัยสามารถปรึกษาเราได้ที่
Line @onesiriacct
ทำบัญชี
สอบบัญชี
ให้คำปรึกษาตลอดระยะเวาที่อยู่ด้วยกัน เพราะเรา ใส่ใจท่าน
(1) Comments
[…] เพื่อทำธุรกิจนั้น ก็มีภาษีที่ต้องแตกต่างออกไปสามารถศึกษาได้ที่ >> เปิดบริษัทเสียภาษีอะไรบ้าง […]