ลีสซิ่งเช่าซื้อรถยนต์
ตอนเรียนเคยได้ยินแต่ สัญญาเช่าการเงิน/ดำเนินงาน แต่พอจบออกมา มีทั้ง ลีสซิ่ง เช่าซื้อ บอลลูน …อิหยังวะเยอะมากๆ โพสต์นี้เลยมา wrap up สรุปคร่าวๆเรื่องสัญญาเช่ารถที่อาจเจอได้ และข้อสังเกตุการดูสัญญาครับ📍
.
.
ซึ่ง อย่าลืมว่าภาระทาง บัญชี💲 และภาษี 💲 นั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในรูปแบบของสัญญา หลักใหญ่ขอแค่จำแนกสัญญาได้ เราจะลงบัญชีถูก และกรอกแบบ ภงด50 ถูกต้อง ซึ่งถ้าถามว่าจะจำแนกยังไง
.
.
ต้องอ่านสัญญา✅ ให้ครบทุกหน้า ย้ำนะครับ เพราะตอนนี้ค่ายรถยนต์มักมีแคมเปญออกมาโดยใช้ข้อได้เปรียบทางภาษีมาล่อผู้ซื้อ ทำให้ต้องพิจารณาดีๆว่า ที่สุดแล้วสัญญานั้น เป็น Leaseing หรือ Hire Purchase และ Leasing ยังแตกไปอีก เป็นการเงินหรือดำเนินงาน✅
.
.
ส่วนตัว มองว่าถ้าสัญญาใด เป็น 💲Hire purchase💲 ตัวสัญญาจะไม่มี condition อะไรมาก และบอกมาตรงๆว่านี่คือ เช่าซื้อ …นักบัญชีก็รับรู้สินทรัพย์ ตัดค่าเสื่อมได้ปกติ ทางภาษีก็ดูแค่เรื่อง ค่าเสื่อมรถยนต์นั่งคิดจากทุนไม่เกิน 1 ล้านเท่านั้น
.
.
แต่ถ้าเป้น 💲Leasing💲 อันนี้ต้องอ่านดีๆ ว่ามีข้อจำกัดการใช้งานที่อาจทำให้สัญญากลายเป็น operation lease เช่น ขับได้ไม่เกินปีละสองหมื่นกิโล/ ถ้าเกิดเหตุอะไรต้องรีบแจ้งผู้ให้เช่า บลาๆ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ บัญชีและภาษี เหมือนกันคือลงเป็น ค่าเช่าจ่าย หรือ Operation Lease นั่นเอง
.
.
สุดท้าย หลังๆมานี่มักเจอพวกสัญญา 💥Balloon💥 ของค่ายรถที่หรูหรา อันนี้อาจจะต้องดูว่าเป็น Operation หรือ Finance โดยไปดูที่ความต้องการซื้อในงวดสุดท้ายของเจ้าของด้วย และอ่านข้อจำกัดในสัญญาว่ามีหรือไม่
ยังไงลองพิจารณากันดู ครับ
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
.
.
🖋สอบบัญชี โดยทีม ผู้สอบบัญชีชิคๆ
📍Audit & Assurance Services from CPA Professions.
📱Onesiri-acc.com
📱 Line @onesiriacct