ไฟไหม้ กับรายจ่ายทางภาษี บันทึกอย่างไรให้เหมาะสม

ไฟไหม้ กับรายจ่ายทางภาษี บันทึกอย่างไรให้เหมาะสม

ไฟไหม้ภาษี

ไฟไหม้ กับรายจ่ายทางภาษี บันทึกอย่างไรให้เหมาะสม

ไฟไหม้ภาษี
จากกรณี ไฟไหม้โรงงาน 🔥🔥🔥🔥 ที่โซนสุวรรณภูมินั้นเริ่มมีหลายๆแหล่งประมาณควาเมสียหายไว้ที่ราวๆ 700 ล้านบาท💲 อย่างไรก็ตาม ทางบริษัท มีประกันภัย (ข้อมูลจาก คปภ) มูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท💲

จะเห็นว่ามีส่วนต่างราว 300 ล้านบาท📌 … ซึ่งตรงนี้ การบันทึกรายจ่ายทางบัญชี และ ภาษี จะต่างกันนิดหน่อย มาดูกัน
.
.
📌📌 ในทางบัญชี กรณี โรงงานได้รับความเสียหาย โดยประเมินว่ามีค่าควาเมสียหายที่ 700 ล้านบาทนั้น มักติ๊ต่างว่า เป้นมูลค่าสุทธิ ที่ประเมินจากสภาพของทรัพย์สิน ณ ปัจจุบัน (ประเมินจากโรงงานเก่าๆ ไม่ได้คิดมูลค่าจากโรงงานใหม่) ดังนั้น 700 ล้านนี้ จะถูกบันทึกบัญชี รับรู้เป็นรายจ่ายในงวดปี 2564 โดย
.
.
Dr. ค่าเสื่อมสะสม โรงงาน xx
Dr. ขาดทุนจากไฟไหม้ 700
Cr. ต้นทุนโรงงาน xxx
(ต้นทุนโรงงาน-ค่าเสื่อมสะสมโรงงาน = 700ล้าน)
 
และเมื่อเวลาผ่านไป บริษัทประกันภัยที่ กิจการได้ทำไว้ได้ประเมินมูลค่าที่จะชดเชย และ “แจ้ง” บริษัทถึงมูลค่าที่จะได้ซึ่งราวๆ 400 ล้านบาทจากกรมธรรม์นั้น
 
กิจการจะต้องรับรู้รายได้จากการประกันภัย ตามเกณฑ์สิทธิ✅ เมื่อบริษัทประกัน แจ้งมาเป็นลายลักษ์อักษร
Dr.ลูกหนี้กิจการประกันภัย 400 ล้าน
Cr.รายได้จากค่าชดเชย 400ล้าน
.
.
จะเห็นว่าสุทธิแล้ว ทางบัญชีจะมี
รายได้จากประกันภัย 400 / และรายจ่ายจากการเสียหาย 700
= สุทธิ 300 ล้านบาท ✅✅
.
.
📌📌 ซึ่ง ในทางภาษี จะรับรู้ผลขาดทุน(รายจ่าย) ที่จำนวน 300 ล้านบาทเท่ากัน แต่จะมอง โดยยึด มาตรา 65ตรี 12 ที่ว่า
.
.
มาตรา 65 ตรี รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
(12) ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ
.
.
ดังนั้น 300 ล้านทางภาษี จะเสมือนรับรู้ด้วยยอด เน็ท 700-400 ล้าน ไม่ได้รับรู้กรอสแบบทางบัญชี นั่นเอง
.
.
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังอาจจะมีภาระทางบัญชีเพิ่มเติม เช่น การพิจารณาตั้งประมาณการหนี้สินจากการชดเชยชุมชนโดยรอบ เป็นต้น💥
 
ยังไงก็ขอให้เพลิงสงบไวๆ แค่โควิดนี่ก็เพลียเต็มทนแล้วเนอะครับ💥
 
 
 
 
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
📍บริการสอบบัญชี/ ตรวจสอบภายใน โดยทีม CPA
📍Audit & Assurance Services from CPA Professions.
📱Onesiri-acc.com
📱 Line @onesiriacct
 

Leave a Reply