Transfer pricing คืออะไร และ การตั้งราคาโอน ระหว่างกัน กับผลทางภาษี

Transfer pricing คืออะไร และ การตั้งราคาโอน ระหว่างกัน กับผลทางภาษี

Transfer pricing คืออะไร

Transfer Pricing คืออะไร ✳หรือที่หลายๆคนเรียกในชื่อภาษาไทยว่า “การกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน” ซึ่งถือว่าเป็นรายการที่ค่อนข้างตอบได้ยากว่า

Transfer pricing คืออะไร

โดย

 

สมเหตุผลหรือไม่ เพราะการกำหนดราคาโอนต่างๆนั้น บริษัทสามารถควบคุมได้ทั้งหมด เพราะผูโอน และผู้รับโอน เสมือนเป็นคนๆเดียวกัน
.Transfer Pricing คืออะไร
.
แล้วในเกณฑ์ สรรพากร ใครถือว่าเป็น “นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน” ✅
1⃣ นิติบุคคล A ถือหุ้นทั้งตรงและอ้อม เกิน 50% ในนิติบุคคล B
2⃣ ผู้ถือหุ้นเกิน50%ใน A ถือหุ้นเกิน 50% ใน B
3⃣ นิติบุคคล A มีความเกี่ยวโยงด้าน ทุน, การจัดการ และ การควบคุม กับนิติบุคคล B
.
.
ซึ่งถ้ามองทั้ง 3 ข้อข้างต้น จะเห็นว่าข้อ 3 เนี่ยคลุมเครือที่สุด ที่จะบอกว่า A และ B เกี่ยวโยงกันหรือไม่ เพราะไม่มีตัวเลขกำกับเป๊ะๆ เหมือนข้อ 1 และ 2 ซึ่งทำให้กิจการที่ หัวหมอ มักเนรมิตรเงื่อนไขต่างๆที่ทำให้ A และ B ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันเลย เช่น ผู็ถือหุ้นคนละเซ็ท ทั้งๆที่ความจริงก็รู้จักกันทั้งนั้น✅
.
.
แล้วจะทำแบบนั้นทำไม ? เพราะว่าการที่มีรายการระหว่างกัน นั้นถ้า นิติบุคคลนั้นมีรายได้เกิน 200 ล้านต่อปี จะต้องยื่น #DisclosureForm หรือเปิดเผยต่อสรรพากร ว่าระหว่างปีมี รายการที่ถ่ายโอนระหว่างกันเท่าไหร่ โดยยื่นพร้อม ภงด50 แต่ละปีนั่นเอง
.
.
เพื่อสรรพากร จะนำไปพิจารณาว่า ระคาโอนนั้นๆ พูดง่ายๆคือเป็นไปตามราคาตลาดหรือไม่ หรือภาษาเทคนิคิก็คือ 🔶Arm’s Length Price🔶 หรือปล่าว
.
.
ซึ่งถ้าดูในเชิง เทคนิค ว่าเป็นไปตามราคาตลาดหรือไม่ ก็มีหลายวิธี เช่น
▶ วิธีเทียบกับราคาตลาดทั่วไป (Comparable Uncontrolled Price Method)
▶ วิธีราคาขายต่อ (Resale Price Method)
▶วิธีทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม (Cost Plus Method)
ซึ่งวิธีต่างๆ ในฝั่งนิติบุคคลเอง ก็อาจใช้แต่ละวิธีมากำหนด ราคาโอน ระหว่างกัน ซึ่งพูดจริงๆ ก็คือการกำหนดว่า วิธีใด ทำให้ประโยชน์เกิดกับ กิจการ มากที่สุด เพราะอย่างลืมว่า การที่มีราคาโอนนั้น จะทำให้กิจการนึง ได้บางอย่าง (เช่นรายได้) และอีกกิจการ เสียบางอย่าง (เช่นเกิดค่าใช้จ่าย) ❤️
.
.Transfer Pricing คืออะไร
💚ผลคือ💚 มีผลในด้านตัวเลข เช่น อัตราภาษีที่ประหยัดไปได้, งบการเงินที่สวยขึ้นเพื่อจูงใจนักลงทุน หรือแม้แต่การได้ประโยชน์จากการนำงบนี้ ไปกู้เงินธนาคาร เป็นต้น
.
.
นี่คงเป็นภาพรวมๆ ของเรื่อง Transfer Pricing ว่าทำไมถึงสำคัญแก่กิจกาจ แต่ถึงแม้ว่า กลุ่มบริษัท ไม่ได้ได้มีขนาดใหญ่ (รายได้เกิน200ล้านต่อปี) ที่จะต้องยื่นแบบฟอร์มให้สรรพากร 🤘
.
.
⭐ แต่ถ้า กิจการเรามี กิจการอื่นๆในเครือ ก็สามารถประยุกต์แนวคิดนี้ ในการ #วางแผนภาษีกลุ่มกิจการ ได้เช่นเดียวกัน ลองปรึกษาฝ่ายบัญชี นักการเงิน หรือที่ปรึกษากิจการ เพื่อทบทวน อัตราการคำนวณราคาระหว่างกัน อยู่เรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ กิจการ เราเสียประโยชน์ครับ ^^ ⭐
บทความโดย

โดย

 

ณัฐวัฒน์ โลหะพิทักษ์ ,ผู้สอบบัญชี & ที่ปรึกษาบัญชี ภาษี และวิทยากร
cr. สรรพากร

Leave a Reply