เปิดคลินิคเสียภาษีอะไรบ้าง ภาษีแพทย์มีอะไรบ้างมาดูกัน by สำนักงานบัญชี ONESIRI

เปิดคลินิคเสียภาษีอะไรบ้าง ภาษีแพทย์มีอะไรบ้างมาดูกัน by สำนักงานบัญชี ONESIRI

หาผู้สอบบัญชี
onesiri accounting

เปิดคลินิคเสียภาษีอะไรบ้าง ภาษีแพทย์มีอะไร

(ถ้าอ่านแล้ว งง ไปดูรูปข้างล่างนะครับ)

 

โดย

 

เปิดคลินิคเสียภาษีอะไรบ้าง

การดำเนินธุรกิจนั้นเราสามารถเลือกได้ว่าจะทำในรูปแบบ นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา ซึ่งความคุ้มค่าว่าจะดำเนินการแบบไหนต้องเทียบแต่ละกิจการครับ

โดยไปอ่านกันได้ที่ >> นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ว่าเราเหมาะกับแบบไหน ?

ขอเริ่มที่การดำเนินธุรกิจของแพทย์แบบ บุคคลธรรมดาก่อนนะครับ

เพราะว่าง่ายและ Good Start สำหรับหมอมือใหม่ที่จะเปิดธุรกิจเอง 

ผมยังยืนยันว่า เราไม่จำเป็นต้องรีบไปจดบริษัท เพื่อทำธุรกิจนะครับ จากการเป็นผู้สอบบัญชี ได้ยินมาเยอะมากกับความเชื่อที่ว่าจดบริษัทแล้วประหยัดภาษีซึ่งผิดมากๆ

เค้าเหล่านั้นอาจโดนหลอกค่าบริการ จากสำนักงานบัญชี ให้จ้างไปจดบริษัท โดยที่ยังไม่ได้ศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งสำนักงานผมไม่ทำแบบนั้นเด็ดขาด

 

บ่นมานานเริ่มกันเลย…

เราจะเห็นว่า ภาษีแพทย์ ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะ รายได้สำหรับคุณหมอนั้นเข้าเกณฑ์ถือเป็นเงินได้ตามกฎหมายถึง 4 ประเภทจากเงินได้ทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้ครับ

เงินได้ประเภทที่ 1 ก็คือเงิน พตส เงินเบี้ยเลี้ยง เงินเดือนต่างๆ ที่ได้รับครับ
เงินได้ประเภทที่ 2 ก็คือเงินพวก การรับเข้าเวรที่โรงบาลอื่นๆที่ หมอคนนั้นๆไม่ได้ทำงานประจำอยู่
เงินได้ประเภทที่ 6 ก็คือ เงินได้จากการใช้ ใบประกอบโรคศิลป์ (วิชาชีพแพทย์)
เงินได้ประเภทที่ 8 ก็คือเงินได้กรณีที่คุณหมอเปิดคลินิคเอง แต่ต้องมีเตียงค้างคืนด้วย และต้องยื่นขอสาธารณสุขจังหวัดด้วย (ดังนั้นเราจะเห็นป้ายคลินิคบางที่ เขียนว่า สถานประกอบการ มีเตียงค้างคืน ) 

 

เวอร์ชั่น YOUTUBE กดดูได้เลยจ้า >>>> https://youtu.be/xLIqZ5Jd0FA

เปิดคลินิคเสียภาษีอะไรบ้าง
เปิดคลินิคเสียภาษีอะไรบ้าง

 

 

พอเรามาดูในเรื่อง การบริหารจัดการนั้น ถ้าอ่านถึงตรงนี้คงพอๆเดากันได้ เพราะเงินได้แต่ละประเภท มีอัตราการหักค่าใช้จ่าย ไม่เท่ากันซึ่ง การจัดประเภทรายได้ คือ การจัดประเภทรายได้จากเงินได้รูปแบบหนึ่ง ให้กลายเป็นเงินได้อีกรูปแบบหนึ่งตามกฎหมาย เช่น จากงานรับจ้างธรรมดา (ประเภทที่ 2) กลายเป็น การประกอบวิชาชีพ (ประเภทที 6) โดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ เช่น

– การตกลงทำสัญญากับโรงพยาบาลเพื่อประกอบโรคศิลป์เป็นการส่วนตัว (เงินได้ประเภทที่ 6) โดยที่ไม่ใช่การว่าจ้างจากโรงพยาบาล

– การเปิดคลินิกพยาบาลในสถานที่ต่างๆ โดยใช้แทนการรับจ้างตรวจ เช่น เปิดคลินิกที่โรงงานเพื่อรับตรวจรักษาให้กับพนักงานในโรงงาน (เงินได้ประเภทที่ 6)

– เปิดเป็นสถานพยาบาลของตัวเอง โดยมีเตียงค้างคืนสำหรับผู้ป่วย (เงินได้ประเภทที่ 8)

 

 

*** การขออนุญาติเปิดคลินิคแบบมีเตียง เพื่อให้จัดเงินได้เป็นประเภทที่ 8 ต้องไปขอที่สาธารณะสุข หมอต้องไปเองด้วยนะ (มอบอำนาจได้ แต่เจ้าหน้าที่ต้องเห็นหน้า แล้วจะมอบทำมมายยยย) ถ้าอยากรุ้ศึกษาได้ใน คู่มือ ได้เลยจ้า

 

** หากท่านเปิดคลินิค ควรหาสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์การบริหารภาษีแพทย์ 

เพราะเราเป็นผู้สอบบัญชี จะพบทั้งสำนักงานบัญชีที่บริหารไม่ได้เต็มที่ ทำให้เจ้าของเสียภาษีเกินกวา่ที่ควรจะเป็น

หากไม่ทราบหาที่ไหน ติดต่อเราได้ฟรี จะช่วยหาให้ เพราะไม่อยากให้เจอปัญหาภายหลังจ้า

 

ส่วนกรณีที่คุณหมอ จะเปิดบริษัท หรือนิติบุคคล

เพื่อทำธุรกิจนั้น ก็มีภาษีที่ต้องแตกต่างออกไปสามารถศึกษาได้ที่ >> เปิดบริษัทเสียภาษีอะไรบ้าง

หากสงสัยสามารถ ติดต่อเราได้ ปรึกษาถามไถ่ได้ฟรี

เราเป็นสำนักงานบัญชี ที่มีผู้สอบบัญชีให้คำปรึกษา เลยอยากให้คำปรึกษามากกว่าแค่ทำงานเอกสาร

เพราะหลายๆสำนักงานมักไม่มีช่วยให้ปรึกษา ผู้ประกอบการหลายท่านจึงมาให้เราแก้ปัญหาให้ ซึ่งทางที่ดีกว่าคืออยากให้ทุกท่านเจอสำนักงานบัญชีตั้งแต่เริ่มเลย จะได้รายรื่น

และมี Business Partner ที่ดี อย่างเราเป็นต้น (โคตรอวย555)

 

ติดต่อได้ที่ Line @onesiriacct

 

โดย

 

 

 

วางแผนภาษีแพทย์

 

 

ภาษีแพทย์

 

ภาษีแพทย์

ภาษีแพทย์

วางแผนภาษีแพทย์

วางแผนภาษีแพทย์

วางแผนภาษีแพทย์

 

 

ถ้าสงสัย หรือสอบถาม ทักมาถามกันได้ฟรีๆที่

Line : @onesiriacct

หรือ Onesiri-acct.com 

ถามโดยตรงกับผู้สอบบัญชี !

 

Cr. Aommoney

Leave a Reply