วางแผนภาษี ขายของออนไลน์ – โดยผู้สอบบัญชี ยินดีให้คำปรึกษา
วางแผนภาษี
วางแผนภาษี การขายของออนไลน์ นอกจากต้องเข้าใจหลักการแล้วไม่ว่าจะเป็น ขายโดยเปิดเพจ(ขายตรง) / ขายผ่าน Shopee LAZADA
และ การนำเข้าจากจีน ที่มักไม่มีเอกสาร แต่เอาจริงๆผมว่าเราวางแผนภาษีได้ โดยใช้หลักกฏหมาย และประสบการณ์
เราพร้อมให้คำปรึกษาคุณ ในการวางแผนภาษี
เอาเวลาคุณไปหาเงิน แล้วให้ภาษีเป็นเรื่องของเรา
ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหน ?
ทำความเข้าใจกันก่อนว่าการขายของออนไลน์นั้นหากไม่ได้มีการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่ง ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการค้าขาย และช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วงดังนี้ค่ะ
-
ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
-
ยืนภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000
คำนวณภาษีอย่างไร ?
สำหรับร้านค้าออนไลน์ ภาษีหลัก ๆ จะมีอยู่ 2 แบบ คือ เสียภาษีแบบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ เสียภาษีแบบนิติบุคคล (กรณีนี้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท)
ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าออนไลน์มักจะไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ วันนี้พิมเพลินขอพูดถึงเฉพาะการคำนวณภาษีแบบบุคคลธรรมดาละกันค่ะ ซึ่งการคำนวณภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดานั้น สูตรคือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย สามารถคำนวณได้ 3 แบบ จุดสำคัญอยู่ที่ ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน นั่นเองค่ะ
ข้อควรรู้ : กรณีที่พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ที่มีรายได้ (ย้ำนะคะว่ารายได้ ไม่ใช่กำไร) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วยนะคะ โดยปัจจุบันยังจัดเก็บอยู่ที่ 7%
ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์มีกี่แบบ ?
1หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อมา ขายไป ไม่ได้ผลิตเอง
2 หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง แต่กรณีนี้ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเย๊อะ
3 หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือ คิดภาษี 0.5% หากคุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
ยังมีเรื่อง การลดหย่อน และตารางอัตราภาษี อีกด้วยนะ !!
การลดหย่อนภาษี คือ รายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้ เพื่อให้เราคำนวณ รายได้สุทธิ ออกมากและนำไปเปรียบเทียบคิดภาษีกับตารางอัตราภาษี ที่เรามักจะได้ยินว่า คำนวณภาษีแบบขั้นบันได นั่นแหล่ะค่ะ
สูตรคือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย ที่เรียกว่าขั้นบันไดเพราะว่า เมื่อเราได้ รายได้สุทธิ แล้วต้องนำรายได้สุทธินั้นมาเทียบกับกับตารางอัตราภาษี เพื่อดูว่า เราจะเสียภาษีเท่าไร (รายได้สุทธิคือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ)
ไว้มาคุยกับเราได้ ถ้าอ่านแล้วงง