ทำลายสินค้า มีผู้สอบบัญชี เป็นรายจ่ายได้ ถูกใจสรรพากร by สำนักงานสอบบัญชี OneSiri
ทำลายสินค้า
การทำลายสินค้าหมดอายุ จะแบ่งง่ายตามลักษณะสินค้า 2 แบบคือ
1.กลุ่มสินค้าที่สามารถเก็บไว้เพื่อรอการทำลายได้
2.กลุ่มสินค้าที่ไม่สามารถเก็บไว้เพื่อรอการทำลายได้ เข่นอาหารสด, เนื้อสัตว์ ฯลฯ
ไม่ว่ากรณีไหนอย่าลืมเก็บหลักฐาน รวมถึงภาพถ่ายแสดงการทำลายให้ครบถ้วนด้วยนะครัว จะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลังนะครับ
สำหรับรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติ สามารถดูเพิ่มเติมได้จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541 ซึ่งควรทำความเข้าใจและศึกษาให้ชัดเจนเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน
มาดูขั้นตอนกันเลยมาต้องทำยังไงกันบ้าง
1 การทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(ก) ต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าดังกล่าวว่า เสียหายตามเงื่อนไขที่แต่ละกิจการได้กำหนดไว้หรือไม่ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าเสียหายตามเงื่อนไข ี่กำหนดดังกล่าว กรณีสินค้าที่ได้รับคืน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมีเอกสารหลักฐานการรับคืนสินค้า
ซึ่งระบุรายละเอียดของสินค้าที่รับคืน เช่น วันเดือนปีที่รับคืน ปริมาณสินค้า ชนิดสินค้าหรือรหัสสินค้า สาเหตุที่รับคืนสินค้า เลขที่อ้างอิงของการสั่งซื้อสินค้าที่รับคืนนั้น และให้มีการลงลายมือชื่อของลูกค้าที่คืนสินค้า พนักงานที่รับคืนสินค้าด้วย เมื่อมีการนำสินค้าที่รับคืนมาเก็บไว้เพื่อรอทำลาย ให้พนักงานฝ่ายคลังสินค้าที่เก็บรักษาสินค้าเสียหายตรวจนับและลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อมทั้งแจ้งให้ฝ่ายบัญชีทราบด้วย
(ข) เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายแล้ว ให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งให้เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้
2 การทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากที่โดยสภาพสามารถเก็บรักษาและรอการทำลายพร้อมกันได้ เมื่อมีปริมาณที่เหมาะสม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม (3.1) และให้แจ้งการทำลายให้สรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ในท้องที่ที่รับผิดชอบทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วันก่อนวันทำลาย ซึ่งสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) อาจส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทำลายด้วยก็ได้ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี
ทางเรามีทีมให้คำปรึกษา โดย ผู้สอบบัญชี CPA
ให้คำแนะนำมากกว่าญาติมิตร คุยง่าย ถูกต้องตามหลักการ
ทำ