ภาษีร้านเพชร พลอย อัญมณี ทำบัญชีอย่างไร มีลักษณะต่างจากกิจการอื่นยังไง มาดูกันครับ

ภาษีร้านเพชร พลอย อัญมณี ทำบัญชีอย่างไร มีลักษณะต่างจากกิจการอื่นยังไง มาดูกันครับ

ภาษีร้านเพชร

ภาษีร้านเพชร พลอย อัญมณี ทำบัญชีอย่างไร มีลักษณะต่างจากกิจการอื่นยังไง มาดูกันครับ

ภาษีร้านเพชร
กิจการร้านเพชร ร้านพลอย จิวเวอรี่ มีหน้าที่ในการจัดการภาษีอย่างไร วันนี้จะมาพูดให้ฟังกันคร่าวๆ เพราะกิจการนี้แม้มีมูลค่าสินค้าที่สูง แต่สรรพากรไม่ได้กำหนด ฐานภาษีที่แตกต่างจากกิจการอื่นแบบ ร้านทอง ดังนั้นในการทำบัญชี และภาษีต้องหาสำนักงานบัญชี หรือที่ปรึกษาที่ต้องเข้าใจรูปแบบครับ
  1. ซื้อ-ขาย พลอย บางทีไม่มีบิล 
เรื่องแบบนี้มักจะเจอ ในกลุ่มพ่อค้าพลอย ค้าอัญมณี หรือแม้แต่เพชร ที่ซื้อขายโดย ผู้ขายให้กิจการเรานั้น ไม่ได้เป็นบริษัท ไม่สามารถออกบิลให้ได้ รวมถึงบางทีเป็นชาวต่างชาติ หรือขแกที่เดินพลอย ดังนั้นการจะได้หลักฐานการจ่ายเงินให้กลุ่มเหล่านี้ แทบจะไม่มีเอกสารเลย
ทางแก้ตรงนี้ ต้องสร้างหลักฐานขึ้นมาเอง ใช่ครับสร้างขึ้นมาเอง แต่สรรพากรมีกำหนดแนวทางให้ โดยสิ่งสำคัญคือ

ต้องมีรายละเอียดสินค้า

มีหลักฐานการจ่ายเงิน

มีการอนุมัติจ่าย

ซึ่งตรงนี้สรรพากรมีแนวทางระบุไว้ชัดเจนครับ ลองศึกษาดู เพื่อที่จะนำต้นทุนตรงนี้ เข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ (ทำให้เสียภาษีลดลง)
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 
ภาษีร้านเพชร ร้านพลอย ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น คิดจากมูลค่าสินค้าที่ ร้าน คิดจากลูกค้า เช่น แหวนเพชร 1 กะรัต ร้านค้าพอใจที่ราคา 300,000 บาท แต่อย่าลืมว่า สิ้นเดือน ร้านค้าจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม อีก 7% ดังนั้น 7% x 300,000 = 21,000 บาท ต้องนำส่งสรรพากร
ซึ่งตรงนี้ ถ้าร้านค้าไม่ขึ้นราคา ร้านค้า ห้างเพชร ก็จะต้องเข้าเนื้อนั่นเอง ดังนั้น ราคาที่พอใจควรเป็นราคา ก่อน VAT
3. สต้อคสินค้า
เนื่องด้วย สินค้านี้มีมูลค่าสูง การทำสต้อคสินค้าเพชร พลอยนั้น อาจใช้วิธี Specific นั่นคือ นับราเม็ด เว้นเสียแต่ว่า ท่านซื้อพลอย เพชร เป็นแบบเหมารวม กะรัต ซึ่งต้องทำการเฉลี่ย ราคาต่อกะรัต เพื่อเป็นต้นทุน และเมื่อขายก็จะได้รู้ว่า สินค้าที่ขายไปนั่นน่ะ มีกำไรเท่าไหร่
เพราะเมื่อท่านเปลี่ยนร้านของท่าน เป็น นิติบุคคล (บริษัท) แล้ว กำไรสิ้นปี ต้องนำมายื่นภาษีด้วย
4. เป็นบริษัท ดีมั้ย
ตรงนี้อยากบอกว่า การเป็นบริษัท อาจทำให้ ภาษีที่จ่ายสิ้นปี ของร้านเพชร พลอย อัญมณี จิวเวอรี่ มีอัตราที่ต่ำกว่าการทำกิจการแบบ บุคคลธรรมดา เพราะ (กลับไปข้อ1) ต้นทุนทั้งหมดนั้นสามารถคิดได้ตามจริง เพื่อคำนวณหาว่าสิ้นปี มีกำไรเท่าไหร่ และสามารถวางแผนภาษี ได้อีกต่างหาก เช่น ตั้งเงินเดือนกรรมการ ให้บริษัท มีค่าใช้จ่าย กำไรจะได้ลดลง ภาษีก็ลดลง
ตรงนี้ต้องวางแผน แยกแต่ละกิจการเพราะค่อนข้าง แตกต่างกันในแต่ละรูปแบบ คงต้องหาคนรู้จักหรือสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยตรงนี้
5. ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่
เรื่องทุนนี่เป็นปัญหามาก สำหรับกิจการเพชรพลอย เพราะ สต้อคหรือสินค้า มีมูลค่าสูงมาก ดังนั้นถ้าอยากได้เกณฑ์ SME เพื่อประหยัดภาษี อาจต้องวางแผนดีดีเพราะ SME มีข้อจำกัด ส่วนของทุน เพียงแค่ 5 ล้านบาท ถ้าเกินนี้จะไม่ได้สิทธิ ประหยัดภาษี ดังนั้นตรงนี้ต้องบอกว่า ต้องลองดูหลายๆอย่างมาประกอบ ถึงจะตอบได้ว่า ทุนเท่าไหร่ดี
ตรงนี้น่าจะเป็นข้อคร่าวๆ ที่ต้องพิจารณา ของการวางแผนภาษีร้านเพชร ร้านพลอยนะครับ หวังว่าทุกท่าน จะได้ประเด็นไม่มากก็น้อย ขอให้โชคดีกับการเสียภาษีคร้าบ 55

ณัฐวัฒน์ โลหะพิทักษ์,

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และอาจารย์พิเศษ

admin@onesiri-acc.com
Line @onesiriacct
call +6698 821 1599

รับวางระบบบัญชี

Leave a Reply