อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนคือ อะไร วัดมูลค่าอย่างไรตามมาตรฐาน TFRS
โดย
สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดเกี่ยวอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หรือ Investment Property (IP) ว่าคืออะไร วัดมูลค่าอย่างไร และกระทบอะไรบ้างในงบการเงิน ตามมาตรฐาน TFRS ทั่งฝั่ง PAE และ NPAE ครับ
..
..
ก่อนอื่นเลย อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงุทน ขอเรียกว่า IP มันก็คือ อสังหาฯตัวหนึ่งที่กิจการที่ไปถือครอง คาดหวังหลักๆด้วยกัน 2 อย่างคือ
- กิจการคาดหวังการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ (เก็งกำไร)
- กิจการคาดหวัง รายได้จากค่าเช่าเป็นผลตอบแทน
และรวมถึง อสังหาฯที่กิจการไปลงทถุนถือครอง แต่ยังไม่รู้วัตถุประสงค์แน่ชัดด้วย
ซึ่ง IP นี้จะต้องไม่ถูกนำมาใช้ตามปกติของกิจการ เช่น ห้ามนำมาเป็น ออฟฟิต เป็นต้น
.
.
ตัวอย่างของ IP เช่น
- ที่ดิน ที่กิจการไปถือครอง โดยคาดหวังการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน
- ที่ดิน ที่กิจการไปถือครอง แต่ยังไม่ระบุวัตถุประสงค์ใดๆ
- อาคาร ที่กิจการครอบครองและปล่อยเช่า
แต่แต่แต่ บางกิจการ ที่ถือครองอสังหารริมทรัพย์ แต่ได้ค่าเช่าหรือ ได้กำไรจากการซื้อขาย ก็อาจไม่ถูกจัดเป็น IP เช่น
- กิจการพัฒนาอสังหาฯ (เช่นแสนสิริ) ต้องมอง ที่ดินต่างๆที่ซื้อเข้ามาเป็นสินทรัพย์รอการพัฒนา และเป็นสินค้าคงเหลือ (ถือเพื่อขายตามปกติ)ต่อไป
- อสังหาฯ ที่กิจการใช้ประโยชน์แก่พนักงานตัวเอง เช่น หอพักพนักงาน
- อสังหาฯ ที่มีไว้ใช้งาน แต่รอการขาย
- อสังหาฯ ที่ให้คนอื่นเช่า ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน
หรือบางทีบางครั้ง เวลาเราจัดทำ งบการเงินรวม อาจจะต้องดูดีดีว่า อสังหาฯ ตัวนึงอาจเป็น IP ของบริษัทย่อยบริษัทนึง แต่ในระดับงบการเงินรวม อาจไม่ได้เป็น IP มักเกิดในพวก ออฟฟิตของกิจการ ที่ถือครองแยกต่างหากในบริษัทย่อย และปล่อยเช่า ให้แก่บริษัทต่างๆในเครือ ดังนั้น อาคารจะเป็น IP ในงบการเงินของบริษัทหนึ่ง แต่ในภาพ งบการเงินรวม หรือ Consolidation แล้วจะมองว่าอาคารนั้น เป็นสินทรัพย์ถาวร ทั่วๆไปนั่นเอง
.
.
การบันทึกบัญชีตาม TFRS for PAE และ NPAE
ก่อนหน้าปี 2563 IP จะวัดมูลค่าต่างกันใน กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAE) และ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAE)
แต่ในปัจจุบัน สภาวิชาชีพบัญชีได้อนุญาตแล้วให้กิจการ NPAE สามารถตีราคาตลาดของ IP ได้เช่นเดียวกับ PAE
ดังนั้น เมื่อเริ่มแรกกิจการลงทุนซื้อ IP มาเท่าไหร่ก็รับรุ้ตามมูลค่าที่จ่ายไป
แต่หาก IP มีราคาตลาดเพิ่มขึ้น เช่น วันดีคืนดี มีรถไฟฟ้ามาจอดหน้าที่ดิน
วันนั้น กิจการก็สามารถไปจ้างผู้ประเมินราคา หรือหาราคาตลาดที่น่าเชื่อถือ มารับรู้เข้าไปในงบการเงินได้เช่นกัน
ผลคือ งบการเงินจะอลังการมากขุึ้น หรือถ้ากิจการ NPAE ใดเป็นสายไม่อยากโชว์ของ แม้ว่าราคาที่ดินนั้นแพงกว่าต้นทุนมากๆ
ก็อาจเลือกใช้ ราคาทุน ในการรับรู้ต่อไปได้ และสามารถเปิดราคาตลาดในหมายเหตุงบการเงินแทนได้เช่นกันครับ
.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนคือ
IP สามารถโอนถ่ายไปเป็นสินทรัพย์อื่นในงบการเงินได้อย่างไร ?
IP สามารถถูกจัดประเภทรายการใหม่ในงบการเงินได้ เช่น
- เปลีย่นมาเป็น อาคาร คิดค่าเสื่อมฯตามปกติ หาก กิจการนำ IP มาใช้ในกิจการเอง
- ทำสัญญาเช่าแบบการเงิน กับกิจการอื่นเป็นต้น
.
.
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 ให้ทางเลือกในการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตาม วิธีมูลค่ายุติธรรมหรือวิธีราคาทุน
แล้วถ้าราคาขึ้น บันทึกอย่างไร
เช่น กิจการลงทุนที่ดิน ซึ่งหวังการเพิ่มขึ้นของราคาที่(จัดเป็นIP) ราคาทุนคือ 1 ล้านบาท วันดีคืนดีท่านนายกลุงต้อม มีนโยบายรถไฟฟ้ามาลงข้างหน้าที่ดินทำให้ราคาประเมินที่ดินกลายเป็น 10 ล้านบาท
- บันทึกบัญชี ณ วันที่จ่ายซื้อมา โดย
Dr. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 1 ล้านบาท
Cr. เงินสด 1 ล้านบาท
2. บันทึกการวัดมูลค่าใหม่ ณ สิ้นปีที่มีการปิดงบการเงิน ตามราคาตลาดที่เชื่อถือได้
Dr. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 9 ล้านบาท
Cr. ส่วนของเจ้าของ 9 ล้านบาท
(ราคาตลาด10ล้าน รับรู้ต้นทุนไปแล้ว1ล้าน)
*** จะเห็นว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้ถูกจัดเป็นรายได้ แต่จะถูกรับรู้เข้าโดยตรงที่ส่วนของเจ้าของ เป็นรายการส่วนเกินทุนครับ
แล้วถ้าราคา ลดลง บันทึกอย่างไร
จากข้อก่อนหน้า หากที่ดินนั้นอยู่ดีดี มีราคาลดลงเช่น นโยบายรัฐบาลกำหนดไม่ให้สร้างตึกสูง หรือมีการออกข้อกฏหมายจำกัดสิทธิต่างๆ
ราคาที่ดินที่เคยประเมินที่ 10 ล้านบาท กลับเหลือเพียง 5 ล้านบาท
Dr. ส่วนเกินทุน(อยู่ในส่วนของเจ้าของ) 5 ล้านบาท
Cr. Investment Property 5 ล้านบาท
เบื้องต้นจะมีเท่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นปลีกย่อยอีกมากที่เกี่ยวข้องกับ TFRS หากท่านใดสนใจก็สามารถ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้
แล้วถ้ามีโอกาสจะนำประเด็นต่างๆมาเสนอแนะให้ฟังกันอีกครั้งครับผม
โดย
ขอบคุณครับ
Cr. https://www.tfac.or.th/upload/9414/5YnH8XYCeS.PDF
.
.