ความแตกต่าง ระหว่างมาตรฐาน TFRS PAEs กับ NPAEs ครับ ที่พบบ่อยๆ
โดย
แต่ละกิจการ ทั้งกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ PAE หรือ
กิจการที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียสาธารณะ NPAE ล้วนแล้วแต่ บันทึกบัญชี รวมถึงจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หรือ IFRS
แต่ในประเทศ ไทย แล้วนั้น กิจการ NPAE มีมาตรฐาน TFRS For NPAE แยกออกมา เพื่อให้สอดคล้อง และ ง่าย กว่ามาตรฐานฉบับใหญ่หรือ PAE
ผลลัพธ์คือ บางจุด บางอย่างมีความแตกต่างกัน วันนี้เลยมายกตัวอย่าง ความแตกต่างระหว่าง TFRS PAE และ TFRS For NPAE ที่พบเห็นบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ
.
.
-
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่ไม่ทราบอายุ
สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่ทราบ อายุ การให้ประโยชน์แน่ชัด ว่า ไอ้สิ่งนี้เนี่ย มีอายุเท่าไหร่ ใช้ได้กี่ปี เช่น โปรแกรม Express ของนักบัญชีนี่แหละ เราซื้อมาด้วยการจ่ายเงินออกไปก้อนนึง แต่เราทราบหรอครับ ว่าโปรแกรมนี้มีอายุเท่าไหร่ เพราะเราสามารถใช้ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าชีวีจะหาไม่ หรือจนกว่าบริษัท ที่ทำโปรแกรมจะล้มหายตายจากไป
.
.
ดังนั้นแล้ว
สำหรับ กิจการ PAE
กิจการก็ไม่จำเป็นต้อง ตัดจำหน่าย (เหมือนกับคิดค่าเสื่อม) แต่ให้ดูว่า ณ สิ้นปี สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น ด้อยค่า หรือไม่
เช่น กิจการไปซื้อ สูตรการผลิต ถั่งเช่ามา ซึ่งผลิตและขายดีมาก ในช่วงปีแรก แต่พอปีที่สอง ปรากฏว่า ประชาชน ไม่นิยมแล้ว …. ถ้าเจอแบบนี้ ก็ต้องดูว่า สูตรการผลิตนี้ ที่ซื้อมา และรับรู้เป็นสินทรัพยืไม่มีตัวตนนั้น เกิดการด้อยค่า หรือไม่ ?
.
.
สำหรับ กิจการ NPAE
กิจการ NPAE เมื่อมี สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ ไม่ทราบอายุแน่นอน มาตรฐานกำหนดให้ กิจการ NPAE นั้นต้องตัดจำหน่าย 10 ปี
2. การรับรู้รายได้
สำหรับ กิจการ PAE
ปัจจุบันมีมาตรฐาน TFRS15 รายได้จากสัญญาที่ทำจากลูกค้า ซึ่งในเนื้อหาจะมีการกำหนดวิธี 5 ขั้นตอนที่กิจการต้องพิจารณา คือ
Step
: การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า
ในกรณีนี้สามารถระบุได้แน่นอน เพราะการระบุสัญญาไม่จำเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เพียงแต่ยึดถือปฏิบัติตามประเพณีทางการค้าทั่วไป เช่น การสั่งซื้อสินค้า (เอาเงินมา เอากุญแจรถไป)
.
.
Step
: การระบุภาระที่กิจการต้องปฏิบัติตามสัญญา
แน่นอนว่าอ่านจบแล้วรู้ว่า กิจการ ต้องมีภาระ(เงื่อนไข) ที่ต้องให้บริการซ่อมบำรุงไปอีก ตามที่สัญญากำหนด ดังนั้นเงื่อนไขนี้ก็ผ่าน (ขายรถยนต์พร้อมบริการหลังการขาย)
.
.
Step
: การกำหนดราคาของรายการ
ราคาของรายการ คือ จำนวนเงินของสิ่งตอบแทนในสัญญาที่กิจการคาดว่าจะได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือการบริการ
.
.
Step
: การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา
พอเราผ่านข้อ 3 รู้ว่าแต่ละส่วนมี สัดส่วน(proportion)เท่าไหร่ ก็นำมาเป็นตัวแบ่ง ที่จะรับรู้รายได้ และ ภาระ(หนี้สิน) ต่อไป
.
.
Step
: การรับรู้รายได้เมื่อกิจการให้ปฏิบัติตามภาระแล้วเสร็จ
โดยปกติครับ การรับรู้รายได้ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
.
1. รับรู้รายได้ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
(point in time) สำหรับการส่งมอบสินค้า เมื่อภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
2. รับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
(over time) สำหรับการส่งมอบบริการทั่วๆ ไป เมื่อภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลา
สำหรับ กิจการ NPAE
ยังยึดการถ่ายโอน Risk & Rewards หรือ ความเสี่ยงและผลตอบแทน ไปยังลูกค้าครับ ณ จุดใดที่มีการโอน .. จุดนั้นก็รับรู้รายได้นั่นเอง
3. รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
สำหรับ กิจการ PAE
– รับรู้รายได้ เมื่อโอน เหมือนสินค้าทั่วๆไป ลูกค้าโอนเมื่อไหร่ รับรู้ทั้งก้อนบึ้ม ไปเลยในตอนนั้นๆ
.
สำหรับ กิจการ NPAE
– เลือกได้ 3 วิธี
– รับรู้รายได้ เมื่อโอน
– รับรู้รายได้ ตามอัตราส่วน
งานที่ทำเสร็จ
– รับรู้รายได้ ตามค่างวดที่โอน
**
แต่ในอนาคต มีแนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนให้ NPAE นั้นรับรู้เหมือนมาตรฐานชุดใหญ่ครับ คือ รับรู้ ณ จุดเวลาก้อนเดียวเมื่อโอน เพราะดูแล้วการขายอสังหาฯ เช่น คอนโด ก็ไม่ได้ต่างจากการขายสินค้าทั่วๆไป นั่นเอง
4. มีการลงทุนในบริษัทร่วม/ร่วมค้า
สำหรับ กิจการ PAE– จะต้องมีการรับรู้ส่วนแบ่ง ตามวิธีส่วนได้เสีย ครับ
.
สำหรับ กิจการ NPAE– ปกติแล้วจะรับรู้ที่ราคาทุน
5. ภาษีเงินได้
สำหรับ กิจการ PAE – มีการคำนวณ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี แบบจริงจัง เพราะผลต่างระหว่างบัญชีและภาษีอาจเกิด สินทรัพย/หนี้สิน ภาษีเงินได้ หรือ DTA/DTL ที่เรารู้จัก
.
สำหรับ กิจการ NPAE -ไม่จำเป้นต้องคำนวณ DTA/DTL ครับ ใช้เพียงบันทึกภาษีเงินได้ค้างจ่าย โดยปกติก็เพียงพอครับผม
สอบบัญชี/ ตรวจสอบภายใน โดยทีม ผู้สอบบัญชีคุณภาพ ปรึกษาง่าย พูดเข้าใจ
Audit & Assurance Services from CPA Professions.
Line @onesiriacct
Post Views:
9,531