อาชีพฟรีแลนซ์ ถือเป็นรายได้ประเภท 40[2] หรือ 40[8] กันนะ
.
.
ฟรีแลนซ์ เป็นอาชีพที่ค่อนข้างก้ำกึ่งว่า รายได้ของท่านนั้นจะถือเป็นรายได้ประเภทไหน ระหว่าง 2 และ 8 …. ซึ่งความแตกต่างของประเภทรายได้ ส่งผลถึง การคำนวณภาษีที่ต่างกัน
.
.
40[2] เป็นรายได้ที่เกิดจาก ค่าจ้างทั่วไป ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนที่คุณไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายลูกน้อง สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 50% ของเงินได้สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี
.
.
40[8] เป็นรายได้ที่เกิดจาก การธุรกิจ การพาณิชย์ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ส่วนใหญ่กำหนดที่ 60% ของเงินได้
.
.
จะเห็นว่าถ้า รายได้ต่างประเภทกัน การหักค่าใช้จ่ายก็ต่างกัน ภาษีฟรีแลนซ์ ก็ต่างกัน (เยอะ) แล้วข้อพิจารณาแบบไหนที่สรรพากรใช้มองว่า อาชีพคุณควรเป็น 40[8] ไม่ใช่ 40[2]
.
.
1. จัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ อาจจะเช่าอาคารหรือซื้ออาคารก็ได้
2. มีการลงทุนด้วยการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน
3. มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีหลักฐานตามสัญญา
4. มีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ แสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้ทำคนเดียวน่ะ
.
.
พูดเป็นภาษาง่ายๆคือ 40[8] จะมีรูปแบบของธุรกิจมากกว่า [2] ที่ดูเหมือนจะทำงานคนเดียว
.
.
ดังนั้นใครที่เป็นฟรีแลนซ์ จะยื่น ภาษีฟรีแลนซ์ ก็ลองดูว่าวันนี้คุณเหมาะสมกับรายได้ประเภทไหน และถ้าตัดสินใจว่าตัวเองเป็น 40[8] ต้องอย่าลืมยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปีด้วยนะครับ
.
.
📌ขอแนะนำ คอร์สเรียนภาษี-บัญชี ขั้นพื้นฐาน สำหรับคนเริ่มต้นธุรกิจ
เรียนออนไลน์ในกลุ่มปิด 12 คลิป กระชับ+ตรงประเด็น
📌สนใจทักแชทได้เลยครับ >> https://m.me/HallyBuncheeTax
😁✨😁✨😁✨😁✨😁
.
สนใจบริการตรวจสอบบัญชี และวางแผนภาษีติดต่อเราได้ที่
☎ 098-2811-599 / 096-982-4995
💻Onesiri-acc.com
📱 Line @onesiriacct
.
#ทำบัญชี #รับตรวจสอบบัญชี #หาผู้สอบบัญชี
#ตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีCPA #คอร์สบัญชี #คอร์สภาษี #สอนบัญชี #เรียนบัญชี #เรียนภาษี #บัญชีภาษีอย่างง่าย #เรียนบัญชีถาษี #ภาษีเบื้องต้น #รับทำบัญชี #ผู้สอบบัญชี